ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน1. ภาษี
สิทธิประโยชน์ทางภาษีในระดับกองทุนและผู้ลงทุนสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานมีดังนี้
- ในระดับกองทุน
กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานไม่เป็นหน่วยภาษีที่จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินได้ที่กองทุนโครงสร้างพื้นฐานได้รับจึงจะไม่มีการเสียหรือหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลก่อนการจ่ายเงินปันผลให้แก้ผู้ถือหน่วย
- ในระดับผู้ลงทุน
บุคคลธรรมดา(ทั้งในและนอกประเทศ) | นิติบุคคล | |
---|---|---|
ภาษีเงินปันผล* | ยกเว้นภาษีเงินปันผลให้แก้บุคคลธรรมดาเป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน (อัตราปกติสำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย ร้อยละ 10) ตามที่ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ (544) พ.ศ. 2555 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2555 (ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2555)* | กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นภาษี โดยต้องถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล กรณีที่ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และได้ถือหน่วยลงทุนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่าย และ 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผลเป็นเป็นจำนวนกึ่งหนึ่ง นิติบุคคลต่างประเทศ ไม่เสียภาษีเงินได้ตามกฏหมายไทยและจะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในประเทศไทย |
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา | ยกเว้น | นิติบุคคลในประเทศกำไรจากส่วนต่างราคาให้รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล นิติบุคคลต่างประเทศ ไม่เสียภาษีเงินได้ตามกฏหมายไทยและจะไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในประเทศไทย |
2. ค่าธรรมเนียมการโอนหรือการเช่า**
ภาษี | รายละเอียด |
---|---|
ค่าธรรมเนียมการโอน | ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่มีสัญญาการรับโอนทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานคืนจากกองทุนหรือมีสัญญาโอนต่อให้ส่วนราชการ |
ค่าจดทะเบียนการจำนอง | ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการจำนอง จากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) ในกรณีที่กองทุนเป็นผู้ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน |
ค่าจดทะเบียนการเช่า | ลดหย่อนค่าจดทะเบียนการเช่าจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 (ไม่เกิน 100,000 บาท) ในกรณีที่กองทุนเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วง และกรณีกองทุนเป็นผู้ให้เช้าหรือผู้ให้เช่าช่วง |
* การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินปันผลเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันจัดตั้งกองทุน อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของพระราชกฤษฎีกาออกตามประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 544) พ.ศ. 2555
** ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 สิงหาคม 2555 และมติคณะรัฐมนตรีเมื้อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2554