1 | เป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่และมีอายุการใช้งานในระยะยาวโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ซึ่งมีกาลังผลิตไฟฟ้าติดตั้ง (Gross Capacity) 723.4 เมกะวัตต์ กำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิ (Net Capacity) ที่ 704.0 เมกะวัตต์ และมีกาลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 670.0 เมกะวัตต์ โดยโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 ได้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 และมีอายุการใช้งานคงเหลือมากกว่า 20 ปี นอกจากนี้ ภายใต้ สัญญาการเข้าลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งมีรูปแบบและโครงสร้างรายได้ค่าความพร้อมจ่ายแบบเดียวกับสัญญาซื้อไฟฟ้า (Power Purchase Agreement) ที่ กฟผ. เข้าทำกับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ได้มีการกำหนดให้กองทุนรวมฯ เข้าลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่าย ของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 เป็นระยะเวลา 20 ปี |
2 | เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล มีความเชื่อถือและมีผลจากการดำเนินงานจริงพิสูจน์ได้โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ กฟผ. ใช้ในการดำเนินงานมากที่สุด และมีความเชี่ยวชาญอย่างสูงในการบำรุงรักษา อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีที่ใช้แพร่หลายทั่วโลกเนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น |
3 | การพัฒนาด้านระบบบริหารจัดการโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้ถูกเลือกให้เข้าโครงการ “โรงไฟฟ้าต้นแบบ” (Model Plant)ของ กฟผ. ซึ่ง จัดทำขึ้นเพื่อสนองต่อแผนยุทธศาสตร์ กฟผ. ฉบับปี พ.ศ. 2558-2568 ภายใต้ชื่อ “Building Excellence for Society and Thailand หรือ EGAT BEST 2014-2025” ซึ่งดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ในด้านการผลิตไฟฟ้า โดยมีบริษัท McKinsey & Company ประเทศไทยเป็นที่ปรึกษา โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาด้านการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าของ กฟผ. โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านสมรรถนะโรงไฟฟ้า ความสามารถด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษา และประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลก (Global Top Quartile) |
4 | เป็นโรงไฟฟ้าที่มีผลการดำเนินงานที่ผ่านมาดี เช่น มีค่าดัชนีความพร้อม (Available Factor) สูงและมีค่าดัชนีการหยุดซ่อมตามแผน (Planned Outage Factor) และดัชนีการหยุดซ่อมนอกแผน (Unplanned Outage Factor) ที่ค่อนข้างต่ำโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้มีการเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ซึ่งมีผลการดำเนินงานมากว่า 3 ปี โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยมีค่าดัชนีความพร้อม (Available Factor) สูงที่ประมาณร้อยละ 91.83 ในปี พ.ศ. 2556 และมีการบำรุงรักษาที่ดี โดยดัชนีการหยุดซ่อมตามแผน (Planned Outage Factor) และดัชนีการหยุดซ่อมนอกแผน (Unplanned Outage Factor) ต่ำที่ประมาณร้อยละ 7.35 และร้อยละ 0.81 ในปี พ.ศ. 2556 ตามลำดับ |
5 | เป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีค่าความร้อน (heat rate) ต่ากว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงอันดับต้นของ กฟผ. โดยมีค่าความร้อน (Gross Heat Rate) ในปี พ.ศ. 2556 ที่ประมาณ 7,306 กิโลจูลต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมงตามลำดับ |
6 | เป็นโรงไฟฟ้าที่อยู่ภายใต้การบริหารโดย กฟผ. ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 อยู่ภายใต้การบริหารของ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการคลัง และมีพันธกิจหลัก คือการผลิตพลังงานไฟฟ้าตามกฎหมายกำหนด และประเทศใกล้เคียง พร้อมทั้งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับ หรือต่อเนื่องกับกิจการของ กฟผ. โดย ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 กฟผ. เป็นเจ้าของและบริหารโรงไฟฟ้าซึ่งตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 41 แห่ง ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งทั้งสิ้น 15,482 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลายประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน 3 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม 6 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังน้ำ 23 แห่ง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าดีเซล 1 แห่ง |
7 | การรับรายได้ของกองทุนรวมฯ บนรายได้ค่าความพร้อมจ่ายกองทุนรวมฯ จะได้รับรายได้ค่าความพร้อมจ่าย ซึ่งเป็นรายได้ค่าตอบแทนตามความพร้อมของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ในการจ่ายไฟฟ้า โดยไม่ขึ้นกับการจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบจึงทำให้กองทุนรวมฯ มีความเสี่ยงต่ำ และมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างจะแน่นอน ทั้งนี้ เนื่องจากรายได้ค่าความพร้อมจ่าย คำนวณจาก Contracted Available Hour (CAH)อัตราค่าความพร้อมจ่าย APR1 (Availability Payment Rate 1 : APR1) ซึ่งอัตราค่าความพร้อมจ่าย APR1 ได้ถูกกำหนดเป็นเงินบาทต่อกิโลวัตต์ตามชั่วโมงความพร้อมจ่าย โดย CAHและ อัตราค่าความพร้อมจ่าย APR1 จะถูกกำหนดไว้แต่ละปีตลอดอายุของสัญญาการเข้าลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่าย และกาลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา โดยตัวแปรที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้ค่าความพร้อมจ่าย นั้น จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูแลและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ให้มีกาลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญาและมีความพร้อมในการจ่ายไฟฟ้าตามชั่วโมงที่ได้มีการระบุไว้ในสัญญาการเข้าลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่ายเท่านั้น นอกจากนี้ ในกรณีที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ไม่มีความพร้อมเนื่องจากเกิดความเสียหายต่อโรงไฟฟ้า กฟผ. ได้มีการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวโดยมีการทำประกันภัยทรัพย์สินประเภทความเสี่ยงภัยทุกชนิดและความเสียหายของเครื่องจักร (Industrial All Risks and Machinery Breakdown Insurance) ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) ประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability Insurance) และประกันภัยความรุนแรงทางการเมือง (Political Violence Insurance) ให้กับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้าโดยกองทุนรวมฯ จะได้รับการชดเชยรายได้ค่าความพร้อมจ่าย จากประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากลักษณะของโครงสร้างรายได้ค่าความพร้อมจ่ายที่จะส่งมอบให้แก่กองทุนรวมฯ นั้น จะเห็นว่า รายได้ที่กองทุนรวมฯ จะได้รับนั้น จะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแข่งขันและภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่ต้องคำนึงถึงความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต และ/หรือ การบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน อาทิ ค่าเชื้อเพลิง แต่ขึ้นอยู่กับกาลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญาและ Contracted Available Hour จึงทำให้กองทุนรวมฯ มีโอกาสในการรับรายได้ที่มั่นคงภายใต้การเข้าลงทุนในสิทธิในรายได้ค่าความพร้อมจ่าย นอกจากนี้ ในช่วงที่มีการบำรุงและรักษา โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตามแผนการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ซึ่งกำหนดไว้ใน สัญญาการเข้าลงทุนในรายได้ค่าความพร้อมจ่าย กฟผ. ตกลงที่จะชำระรายได้ค่าความพร้อมจ่ายให้แก่ กองทุนรวมฯ เป็นจำนวนร้อยละ 10 ของรายได้ค่าความพร้อมจ่ายซึ่งคำนวณโดยอ้างอิงกำลังผลิตไฟฟ้าในชั่วโมงสุดท้ายก่อนที่จะมีการซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ตามแผนการบำรุงรักษาดังกล่าว |
8 | เป็นโรงไฟฟ้าที่มีมีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางชุมชนผู้ใช้ไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซจากฝั่งตะวันตก รวมทั้งมีสถานที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางชุมชนผู้ใช้ไฟฟ้า (ลดความสูญเสียในระบบสายส่งไฟฟ้า) จึงทำให้ได้ถูกจัดลำดับให้เป็นโรงไฟฟ้าที่ต้องผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบเป็นลำดับแรก และได้รับโอกาสผลิตไฟฟ้าเต็มความสามารถตลอดเวลา เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ตามความเจริญเติบโตทางด้านสังคม เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อรักษาระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้า (Reliability) ในภาพรวม |
9 | เป็นโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาการให้บริการตลอดจนการจัดหาอะไหล่และชิ้นส่วนระยะยาวกับบริษัทผู้ผลิต Gas Turbine Generatorโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าที่มีการจัดทำสัญญาการให้บริการตลอดจนการจัดหาอะไหล่และชิ้นส่วนระยะยาว (Long Term Parts Agreement หรือ “สัญญา LTPA”) เพื่อใช้ในการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 กับ GE Energy Parts International LLC และ General Electric International Operations Company, Inc. ซึ่งเป็นผู้ผลิต Gas Turbine Generator ของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ทั้ง 2 เครื่อง ทั้งนี้ สัญญา LTPA มีอายุ 7 ปี โดยจะมีการต่ออายุสัญญา LTPA ทุกๆ 7 ปี หลังจากสัญญา LTPA หมดอายุลงในปีพ.ศ. 2561 ทำให้มั่นใจได้ว่าจะมีความมั่นคงและต่อเนื่องในการเดินเครื่องและบำรุงรักษา |